โรคเครียด (Acute Stress Disorder) ความหมาย โรคเครียด คือ ภาวะที่ต้องเผชิญแรงกดดันจากเหตุการณ์ร้ายแรง ซึ่งภาวะดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการตอบสนองของร่างกายและจิตใจ ผู้ที่ผ่านเหตุการณ์ซึ่งก่อให้เกิดความเครียด จะเกิดอาการเครียดประมาณหนึ่งเดือน หากเกิดอาการนานกว่านั้นจะกลายเป็นโรคเครียดหลังเกิดเหตุสะเทือนขวัญ (Posttraumatic Stress Disorder: PTSD)
โดยทั่วไปแล้ว เมื่อต้องเผชิญหน้ากับสถานการณ์อันตราย ร่างกายจะหลั่งสารสื่อประสาทที่ทำให้ร่างกายตอบสนองด้วยการสู้หรือหนี (Fight-or-Flight) ส่งผลให้หัวใจเต้นเร็ว หายใจถี่ขึ้น กล้ามเนื้อหดตัว และความดันโลหิตสูงขึ้น ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเครียดจะรู้สึกกลัว หวาดระแวง หรือตื่นตระหนกหลังเผชิญสถานการณ์อันตราย ทั้งนี้ อาจรู้สึกวิตกกังวล ว้าวุ่น และฟุ้งซ่าน หรือฝันร้ายเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลายครั้ง อย่างไรก็ตาม มนุษย์เราจะประสบภาวะเครียดจากสถานการณ์ที่แตกต่างกันไป กล่าวคือ สถานการณ์บางอย่างอาจทำให้คนหนึ่งเกิดความเครียดได้ ในขณะที่อีกคนอาจรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวได้ และไม่รู้สึกเครียดกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
อาการของโรคเครียด
ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเครียดมักเกิดอาการของโรคทันทีที่เผชิญสถานการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียด โดยจะเกิดอาการของโรคเป็นเวลานานหลายวันหรือหลายสัปดาห์ อาการโรคเครียด มีดังนี้
ทั้งนี้ โดยทั่วไป มนุษย์เรามักเกิดความเครียดจากการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งความรู้สึกดังกลาวอาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกายและอารมณ์บ้าง ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ความรู้สึก และพฤติกรรม ดังนี้
สาเหตุโรคเครียด
โรคเครียดมีสาเหตุมาจากการพบเจอหรือรับรู้เหตุการณ์อันตรายที่ร้ายแรงมาก โดยเหตุการณ์นั้นทำให้รู้สึกกลัว ตื่นตระหนก หรือรู้สึกสะเทือนขวัญ เช่น การประสบอุบัติเหตุจนเกือบเสียชีวิต การได้รับบาดเจ็บอย่างรุนแรง รวมทั้งทราบข่าวการเสียชีวิต ประสบอุบัติเหตุ หรือการป่วยร้ายแรงของคนในครอบครัวหรือเพื่อนสนิท ทั้งนี้ เหตุการณ์ที่ทำให้เกิดโรคเครียดซึ่งพบได้ทั่วไปนั้น มักเป็นเหตุการณ์เกี่ยวกับการออกรบของทหาร ถูกล่วงละเมิดทางเพศ ถูกโจรปล้น ประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติ หรือทราบข่าวร้ายอย่างกะทันหันโดยไม่ทันตั้งตัว นอกจากนี้ โรคเครียดยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ด้วย โดยผู้ที่เสียงป่วยเป็นโรคเครียดได้สูง มักมีลักษณะ ดังนี้
การวินิจฉัยโรคเครียด
ผู้ที่ผ่านการเผชิญเหตุการณ์ร้ายแรง อาจเกิดอาการของโรคเครียดได้ อย่างไรก็ตาม ผู้ที่เกิดอาการดังกล่าวควรไปพบแพทย์ทั่วไปหรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต เพื่อรับการตรวจและวินิจฉัยสาเหตุ โดยแพทย์จะสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่ได้พบหรือได้รับรู้ รวมทั้งสอบถามอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นของผู้ป่วย ทั้งนี้ เมื่อได้รับการตรวจแล้ว แพทย์อาจวินิจฉัยหาสาเหตุของอาการป่วยว่า เกิดจากสาเหตุอื่นหรือไม่ เช่น การใช้สารเสพติด ผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางอย่าง ปัญหาสุขภาพอื่น ๆ หรือโรคทางจิตเวชอื่น ๆ หากอาการที่ผู้ป่วยเป็นไม่ได้เกิดจากสาเหตุอื่น ก็แสดงว่าอาการดังกล่าวอาจเกิดจากโรคเครียด
การรักษาโรคเครียด
วิธีรักษาโรคเครียดคือการรับมืออาการของโรคที่เกิดขึ้นเมื่อต้องเผชิญสถานการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียด ผู้ป่วยควรเข้าใจสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการดังกล่าว และพูดคุยกับครอบครัวหรือเพื่อนเพื่อระบายความเครียดอย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่เกิดอาการรุนแรงหรือเกิดความเครียดเรื้อรัง จำเป็นต้องเข้ารับการรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยตรง ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
นอกจากนี้ แพทย์อาจจ่ายยาอื่น ๆ เพื่อบรรเทาอาการของโรค เช่น ยาระงับอาการวิตกกังวล ยาต้านเศร้ากลุ่มเอสเอสอาร์ไอ (Selective Serotonin Reuptake Inhibitors: SSRIs) และยาต้านซึมเศร้ากลุ่มอื่น ๆ หรือรักษาจิตบำบัดด้วยการสะกดจิต (Hypnotherapy) ซึ่งพบในการรักษาไม่มากนัก ส่วนผู้ป่วยที่เสี่ยงฆ่าตัวตายหรือมีแนวโน้มทำร้ายผู้อื่น จะต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลและได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด
ภาวะแทรกซ้อนของโรคเครียด
ผู้ที่เกิดความเครียดเล็ก ๆ น้อย ๆ เป็นประจำควรดูแลตัวเอง โดยหากิจกรรมอย่างอื่นทำยามว่าง เพื่อให้ตนเองรู้สึกผ่อนคลาย ทั้งนี้ ผู้ที่เกิดความเครียดเรื้อรังเป็นเวลานาน อาจประสบปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมาได้ ดังนี้
การป้องกันโรคเครียด
โรคเครียดเป็นปัญหาสุขภาพที่ป้องกันได้ยาก เนื่องจากสถานการณ์อันตรายอันเป็นสาเหตุของโรคเครียดนั้น ควบคุมไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยโรคเครียดดูแลตนเองและจัดการอาการของโรคไม่ให้แย่ลงได้ โดยปฏิบัติ ดังนี้
ที่มา : https://www.pobpad.com/โรคเครียด